วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แมวศุภลักษณ์

      มวเบอร์มีสหรือศุภลักษณ์

 แมวเบอร์มีสทองแดง หรือ ศุภลักษณ์ เป็นพันธุ์แมวบ้านซึ่งกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีการพัฒนาในสหรัฐอเมริกา

เดิมแมวเบอร์มีสทุกตัวมีสีน้ำตาลเข้ม แต่ปัจจุบันมีได้หลายสี การรับรองสีอย่างเป็นทางการยังแตกต่างกันไปแล้วแต่มาตรฐาน ทั้งสองสายพันธุ์ต่างเป็นทราบกันว่ามีพื้นฐานอารมณ์ชอบเข้าสังคม ขี้เล่นเป็นเอกลักษณ์และเปล่งเสียงอย่างต่อเนื่อง

   แมวเบอร์มีสสมัยใหม่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์โดย Dr.Joseph Thompson ท่านเป็นหมอประจำการทหารเรือในอเมริกา โดยส่วนตัวท่านชอบเลี้ยงสัตว์และรักแมวมาก จึงได้ทำฟาร์มแมว Siamese ในปี 1926 ซึ่งนำเข้าแมววิเชียรมาศมาจากประเทศไทยในขณะนั้น และในปี 1930 ท่านได้มามาท่องเที่ยวทั่วทวีปเอเซียกับทหารเรือ และได้ไปท่องเที่ยวที่ประเทศพม่า ท่านพบเห็นแมวจรตัวหนึ่งเห็นว่าสวยดี แมวตัวนี้มีสีน้ำตาลเข้ม และมีแต้มเข้มเหมือนกับแมววิเชียรมาศของท่าน จึงนำกลับประเทศอเมริกาและตั้งชื่อว่า วงแมว หรือ วงเมา (Wong Mau) ไม่ทราบที่มาว่าชื่อมาจากไหน เนื่องจากท่านมีพื้นฐานความรู้ เรื่องแมวอยู่แล้ว จึงเริ่มทำการค้นคว้าหาข้อมูลว่า แมวตัวนี้ เป็นแมวสายพันธุ์อะไร เหตุนี้เองจึงเริ่มผสมแมวสายพันธุ์นี้ขึ้น โดยใช้หลักการผสมคือ แมวเบอร์มีส เพศเมีย จากประเทศพม่า ชื่อ วงแมว (Wong Mau) กับแมววิเชียรมาศของไทย เพศผู้ ชื่อ ไทยแมว Taimau และได้ลูกแมวมาเป็นหลากหลายสายพันธุ์และหนึ่งในนั้นเป็นแมวเบอร์มีสสายพันธุ์ใหม่ จึงนำมาผสมกับแมววิเชียรมาศเรื่อยมา จนได้แมวตามสายพันธุ์ที่ต้องการ 

  แต่การนำแมวสายพันธุ์นี้จดทะเบียน ไม่ใช่ตัวท่าน เป็นผู้นำไปจด แต่จะเป็นกลุ่มผู้เพาะพันธุ์แมวเหมือนกันที่เห็นความสำคัญของแมวสายพันธุ์นี้ เป็นผู้นำแมวเบอร์มีสไปจดทะเบียนได้สำเร็จในปี 1953 กับ สถาบัน CFA และสร้างชื่อเสียงให้คนรู้จักแมวสายพันธุ์นี้เป็นจำนวนมาก รวมถึงชาวอเมริกันและชาวยุโรปที่นิยมเลี้ยงแมวสายพันธุ์นี้กันอย่างกว้างขวาง




วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เบงกอล (Bengal)


           แมวเบงกอลนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวหลายชนิด อาทิ อะบิสซิเนียน อเมริกันขนสั้น เบอร์มีส อียิปต์เชียนมัวร์ และแมวเสือดาวเอเชีย ในช่วงระหว่างปียุค 60 นั้น บรรดานักวิจัย อาทิ ช็อง มิลส์ในแคลิฟอเนีย ได้ทำการศึกษาโรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับแมว เช่น โรคลูคิเมียและโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ระหว่างการทำวิจัยนั้น ก็ค้นพบว่าแมวป่า เช่นสิงโตหรือเสือนั้นมีภูมิต้านทานต่อโรคบางชนิด แมวเสือดาวเอเชียจึงได้ถูกนำมาผสมพันธุ์กับแมวบ้านธรรมดาเพื่อศึกษาว่าระบบภูมิคุ้มกันนั้นมีการทำงานในการต่อต้านโรคเหล่านี้ได้อย่างไร จากนั้นในปี 1963 คุณนายมิลส์ ก็ได้ทำการผสมพันธุ์แมวเสือดาวเอเชียตัวเมียกับแมวบ้านสีดำตัวผู้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมานั้นก็คือ ลูกแมวที่มีทั้งสีเดียวล้วนและมีลายจุด ซึ่งต่อมา หนึ่งในลูกแมวลายจุดตัวเมียนั้นก็ได้ถูกนำมาผสมพันธุ์กับแมวที่เป็นพ่อของมัน และลูกที่ออกมาครอกนั้นเป็นลูกแมวลายจุดทั้งหมด ซึ่งตรงนี้เองที่เป็นจุดกำเนิดของแมวเบงกอล


 ด้วยเหตุนี้น้องเหมียวเบงกอลจึงเป็นแมวสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์เพราะเป็นแมวลายจุดเพียงสายพันธุ์เดียวที่สืบเชื้อสายมาจากแมวป่าขนาดใหญ่ซึ่งก็คือ แมวเสือดาวเอเชีย นอกจากนี้ เป้าหมายในการพัฒนาแมวเบงกอลขึ้นมานั้นก็เพื่อสร้างแมวที่มีลักษณะคล้ายกับบรรพบุรุษของมันซึ่งเป็นแมวป่า แต่สามารถนำมาทำเป็นแมวเลี้ยงได้ น้องเหมียวเบงกอลในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีความพิเศษ น่าสนใจ และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้โชคดีที่ได้พบเจอมัน ยิ่งไปกว่านั้น สีสันและลวดลายที่งดงามของมันนั้นทำให้มันเป็นสายพันธุ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น น้องเหมียวอารมณ์ดีสายพันธุ์นี้ยังเหมาะสมกับผู้เลี้ยงเกือบทุกประเภทและอยู่ได้เกือบทุกสถานการณ์อีกด้วย


    แต่ต้องจำไว้อย่างว่าแมวเบงกอลเป็นแมวที่ซุกซน กระตือรือร้น และขี้เล่นมาก และยังชอบทำตัวเป็นเจ้านายเสียด้วย ดังนั้นก็ควรมีใครที่สามารถดูแลและรับมือเจ้าเหมียวสายพันธุ์นี้ได้อย่างเหมาะสม! นอกจากนี้ แมวเบงกอลยังเฉลียวฉลาด และสอนพวกคำสั่งพื้นฐานได้ง่าย คุณสามารถปล่อยให้พวกมันเดินนำไปได้เลย เพราะพอเรียก มันก็จะมาหาคุณเองทันที เหมือนกับแมวตัวอื่นๆที่มาหาเจ้าของอย่างกับมี “โทรจิต” นั่นเอง ถ้าคุณอยากเลี้ยงแมวที่เป็นมิตร น่ารักน่าชัง และมีประวัติความเป็นมาที่ไม่เหมือนใครแล้วล่ะก็ อย่าได้มองข้ามน้องเหมียวอัศจรรย์พันธุ์นี้เด็ดขาด


วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แมวสายพันธุ์ บริติชขนสั้น

บริติชขนสั้น

 ( British Shorthair )




         แมวบริติชขนสั้น หรือแมวซิลเวอร์แท็บบี้ มีร่างกายที่แข็งแรง กำยำ มีขนสั้น และได้รับการพัฒนาขึ้นในยุโรปมาจากแมวพันธุ์ทาง แมวสายพันธุ์บริติชขนสั้นในยุคแรกๆและแมวสายพันธุ์ชาร์เทรอของฝรั่งเศสนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน และบรรดานักผสมพันธุ์แมวต่างก็คิดว่าแมวสองสายพันธุ์นี้จริงๆแล้วเป็นสายพันธุ์เดียวกัน แต่ทุกวันนี้ นักผสมพันธุ์แมวได้ดูแลการผสมพันธุ์แมวเป็นอย่างดีเพื่อพัฒนาให้ทั้งสองสายพันธุ์นี้มีความแตกต่างกันชัดเจน แมวสายพันธุ์บริติชขนสั้นได้ถูกนำไปแสดงในงานที่อาคาร Crystal Palace อันโด่งดังในปี 1895 และในตอนแรกผู้คนต่างก็หลงรักน้องเหมียวสายพันธุ์นี้เป็นอย่างมาก ก่อนที่แมวเปอร์เซียจะกลายมาเป็นจุดสนใจในภายหลังแทน 
(อาคาร Crystal Palace ณ กรุงลอนดอนในปัจจุบัน)

      จากนั้นแมวบริติชขนสั้นก็ไม่ได้เป็นที่สนใจมากนักในเวลาต่อมาจนถึงในช่วงปียุค 30 เมื่อมีนักผสมพันธุ์แมวกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งให้ความสนใจกับแมวสายพันธุ์นี้ ทางฝั่งสหรัฐอเมริกานั้น ในช่วงแรกๆ แมวสายพันธุ์นี้ ถูกเรียกว่า แมวสายพันธุ์บริติชบลูส์ เพราะผู้คนเคยเห็นแค่แมวพันธุ์นี้ที่เป็นสีฟ้าและไม่ได้มีการกำหนดรูปร่างของแมวที่ชัดเจนเหมือนในปัจจุบัน แมวบริติชขนสั้นเป็นแมวที่มีตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ร่างกายแข็งแรง กำยำ มีหางหน

       เจ้าเหมียวสายพันธุ์นี้ยังเป็นแมวที่รักอิสระและก็น่ารักมากเช่นกัน พวกมันชอบอยู่กับผู้คนและชอบติดตามเจ้าของไปรอบๆบ้าน ขนของพวกมันนั้นง่ายต่อการดูแลเพราะไม่ค่อยพันกันยุ่งเหยิงแต่ก็ควรหวีขนมันเบาๆบ้าง น้องเหมียวสายพันธุ์นี้จึงเหมาะแก่การเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับครอบครัวหรือคนที่อยู่คนเดียว ^-^

วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แมวบาหลี

บาหลีราคา 2,500-3,000

Balinese 

       แมวบาหลีเป็นแมวที่กระตือรือร้นและ “ช่างพูดช่างคุย”  และยังชอบเดินตามเจ้าของพร้อมคอยแจกความรักให้กับคนที่พบเจอเวลามันเดินไปไหนต่อไหนอีกด้วย! 
       น้องเหมียวขนยาวพันธุ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลแมวที่มาจากประเทศทางฝั่งตะวันออก  และได้รับการพัฒนามาจากลูกแมวพันธุ์ขนยาวที่พบตามครอกลูกแมวสยามในสหรัฐอเมริกา  รูปร่างและการเคลื่อนไหวที่สง่างามของน้องเหมียวสายพันธุ์นี้เป็นตัวจุดประกายที่มาของชื่อสายพันธุ์พวกมัน นั่นก็เพราะว่ามันทำให้ผู้ที่เพาะเลี้ยงมันนั้นนึกถึงนักเต้นรำท้องถิ่นที่อยู่บนเกาะบาหลีนั่นเอง 

(การเต้นบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย)

       แมวบาหลีนั้นเป็นแมวขนาดกลางที่มีรูปร่างยาวเรียวเหมือนกับแมวสยาม แต่ร่างผอมยาวของมันนั้นถูกปกคลุมไปด้วยขนยาวนุ่มที่ถึงแม้ว่าตัวมันจะยาว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งขนอะไรมากเหมือนกับแมวสายพันธุ์ที่มีขนยาว นอกจากนี้ ที่จริงแล้ว   ขนที่สวยงามและหางที่ยาวปุกปุยของมันแทบจะเป็นเพียงแค่สิ่งเดียวที่ทำให้มันแตกต่างไปจากแมวสยาม สำหรับตาของมันนั้นมีรูปร่างคล้ายเมล็ดอัลมอนด์สีฟ้า ส่วนลำตัวของมันอาจจะมีลวดลายสีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สีฟ้า ม่วงแดง และช็อกโกแลต สำหรับคนที่อยากจะเลี้ยงแมวที่กระตือรือร้นตลอดเวลานั้น แมวบาหลีเป็นทางเลือกที่ใช่เลยสำหรับคุณ เพราะเป็นแมวที่มีชีวิตชีวา ขี้เล่น สวยงามและเป็นเพื่อนเล่นที่ชื่นชอบการอ้อนหรือนั่งอยู่บนตักของเจ้าของอย่างที่สุด

วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แมวชินชิลล่า

ชินชิลล่า (Chinchilla)

     

         น้องเเมวเปอร์เซียหรูหรา ปกติจะเป็นที่นิยมและเป็นที่ต้องการของบรรดาผู้รักแมวมากมายค่ะ แต่แมวชินชิลล่านั้นเป็นแมวที่สวยงามโดดเด่นจากขนสีเงินเงางามมีลักษณะคล้ายแมวเปอร์เซียจนดูเหมือนฝาเเฝด   
แมวเปอร์เซียทั่วไปที่ดั้งเดิมแล้วมาจากประเทศตุรกีและมักมีขนหนาสีขาวสวยงาม
         

        น้องเหมียวชินชิลล่านั้นเป็นแมวขนาดใหญ่ที่อบอุ่น เป็นมิตรกับมนุษย์ มีรูปร่างเป็นทรงคล้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัส 
มีใบหน้าแบนทรงกลม และ ใบหูขนาดเล็ก   พวกมันมีดวงตาสีเขียวสะท้อนแสงคล้ายกับลวดลายบนตัวมัน   นอกจากนี้  ขนของมันยังมีความงดงามคล้ายใยไหม และยังมีหางเหมือนภู่กันหนาๆที่โดดเด่น  โดยภาพรวมแล้ว  แมวสายพันธุ์นี้บางตัวมีสีขาวพร้อมลายสีดำที่ทำให้ตัวมันดูเป็นประกาย หนึ่งในน้องเหมียวชินชิลล่าที่มีชื่อเสียงที่สุดนั้นเป็นที่รู้จักกันว่า Silver Lambkin  และยังเชื่อกันว่าแมวตัวดังกล่าวนี้เป็นต้นกำเนิดของโทนสีที่สวยงามโดดเด่นของแมวสายพันธุ์นี้ ตัวมันเองนั้นได้รับรางวัลใหญ่ๆมากมายในงานแสดงที่  Crystal Palace  ในกรุงลอนดอนเมื่อปี  1888  เจ้าเหมียวแสนสวยตัวนี้มาจากสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ 

      
                              Silver Lambkin
      ลักษณะนิสัย
          พวกมันมีนิสัยชอบเข้าหาคนอื่นมากกว่าแมวเปอร์เซียพันธุ์อื่นๆ และพวกมันยังมีเสียงที่ไพเราะ   โดยปกติแล้วน้องเหมียวชินชิลล่าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆที่พวกมันไปอยู่ได้อย่างรวดเร็ว และมีนิสัยแบบชิลๆ สบายๆ ดังนั้นแมวพันธุ์นี้จึงเหมาะมากสำหรับครอบครัวที่มีเวลาแปรงหรือหวีขนให้มันเป็นประจำทุกวันเลยค่ะ...เหมี๊ยว!!

เบอร์มีส

  เบอร์มีส   แมวเบอร์มีสสมัยใหม่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์โดย Dr.Joseph Thompson ท่านเป็นหมอประจำการทหารเรือในอเมริกา โดยส่วนตัวท่าน...